วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 18 วันอาทิตย์ ที่ 24 เมษายน 2559เวลาเรียน 08.30-11.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     ในวันนี้เป็นการสอนชดเชยเนื่องจากมหาลัยมีกำหนดการให้เรียน ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มคิดนิทาน และเขียนตัวอย่างนิทานมา กลุ่มของดิฉันแต่งนิทานเกี่ยวกับพ่อและลูกที่มีความเกี่ยวข้องของรถโดยที่รถนั้นมีประโยชน์และ โทษยังไร เมื่อเราทำเรียบร้อยก็ให้อาจารย์ได้ตรวจสอบ และช่วยกันคิดว่านิทานนี้ดีหรือยัง
     ประมาณสายๆอาจารย์ก็ได้สอนการทำแผน ที่มีพัฒนาการทั้ง4ด้าน คือทางด้าน ร่างกาย สังคม
อารมณ์ จิตใจและสติปัญญา นอกจากนั้นยังมีการจัดประสบการณ์ คือ
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์
-กิจกรรมเสรี/เล่นตามมุม
-กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
-กิจกรรมสร้างสรรค์
-กิจกรรมกลางแจ้ง
-เกมการศึกษา



ทักษะ

-ได้รู้การเขียนแผนที่ถูกต้อง
-ได้รู้ว่ากิจกรรมประจำวันของเด็กในแต่ละวันต้องทำยังไรหน้าหลังก่อน


การนำไปประยุกต์ใช้

-ในวันนี้ได้เรียนการเขียนแผน อาจารย์ได้สอนว่าแผนที่ถูกต้องต้องทำยังไร และต้องสามารถไปประยุกต์กับคณิตศาสตร์ ในการเขียนแผนต้องมีพัฒนาการของเด็ก มีกิจวัตรประจำวัน วัตถุประสงค์ การประเมิน และเมื่อเราเรียนแล้วยังไงในอนาคตเราต้องนำไปใช้ในการเขียนเพื่อนำไปสอนเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน

-บรรยากาศวันนี้สนุกสนานเพราะได้มีการโต้ตอบ มีอาจารย์ถามคำถาม และยังได้แต่งนิทาน

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์สอนสนุกค่ะวันนี้มีการได้ออกความคิดเห็นมากมายและอาจารย์ได้อธิบายทั้งการทำนิทาน โทษ ประโยชน์ และยังเป็นการเขียนแผน

คุณธรรมจริยธรรม

-ตรงต่อเวลา
-มีความรับผิดชอบ

การบันทึกครั้งที่ 17 วันศุกร์ ที่ 22 เมษายน 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาสอนตามแผนที่ได้เตรียมมาเริ่มด้วยกลุ่มแรก
-กลุ่มที่1 วันจันทร์ ที่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ไม่ได้สอนเลยมาสอนสัปดาห์นี้ เรื่องที่สอนคือเรื่อง บ้าน
อันดับแรก อ่านคำคล้องจอง แล้วเริ่มถามประสบการณ์เด็ก  การมีส่วนร่วมของเด็ก
การสอน จะสอนแบบแบ่งว่าบ้านไหนใช้ปูน และบ้านไหนใช้ไม้ โดยที่จะแบ่งกระดาษเป็นสองช่องและหาว่าฝั่งไหนมากหรือน้อยกว่ากว่า ก็เขียนจำนวนเลข แล้วมารวมกัน ว่ามีทั้งหมดกี่หลัง


-กลุ่มที่2 วันพุธ กลุ่มของดิฉัน เรื่อง รถ  เป็นการดูแลรักษารถ 
อันดับแรก อ่านคำคล้องจองเกี่ยวกับรถ แล้วถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ถามว่าเด็กๆมีวิธีดูแลรักษาเด็กอย่างไรบ้าง
การสอน จะเป็นการสอน โดย กษมาจะใช้รูปรถที่เป็นการดูแลรถมาหลายแบบแล้วนำมาติดให้เด็กๆนับจำนวนและก็จะถามเด็กเพิ่มว่ามีอะไรนอกเหนือจากนี้ก็จะให้เด็กตอบแล้วเขียนลงไปเพิ่มจำนวนอีก


-กลุ่มที่3 วันพุธ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า  การดูแลรักษาพัดลม
อันดับแรก ก็จะถามเด็กๆว่า พัดลมมีวิธีรักษาอย่างไร
การสอนกลุ่มนี้อาจารย์ได้บอกวิธีการสอนโดยที่อาจจะใช้แยกพัดลม แล้วถามเด็กว่าพัดลมต้องรักษายังไง

-กลุ่มที่4 วันพุธ เรื่อง อวัยวะ การดูแลรักษาร่างกาย
อันดับแรก คำคล้องจอง แล้วถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
การสอน กลุ่มนี้จะมีกระดานและมีรูปภาพของร่างกาย จะแบ่งเป็นสองฝั่งคือ ภายนอก และภายใน และก็จะถามวิธีการรักษา

-กลุ่มที่5 วันพุธ เรื่อง บ้าน  การดูแลรักษาห้อง 
การสอน โดยกลุ่มนี้ใช้รูปภาพ 2 ภาพคือภาพที่มีห้องสกปรกและห้องที่สะอาดโดยให้ดูความแตกต่าง วิธีการดูแลคือ เด็บของจากให้เรียบร้อย ปัดหยักไยจากที่สูง เช็ดโต๊ะ กวางพื้น ถูพื้น  

-กลุ่มที่6 วันพฤหัสบดี เรื่องอวัยวะ โทษและประโยชน์ของร่างกาย


ทักษะ

-ได้รู้ทักษะการสอนเพิ่มมากมาย
-ได้มีประสบการณ์ในการออกไปสอน
-รู้จักการวางแผนและการสอนที่ถูกต้อง
-มีความคิดที่หลากหลาย


การนำไปประยุกต์ใช้

-ในสัปดาห์นี้ถือว่าได้รู้ว่าการสอนในแต่ละวันนั้นไม่เหมือนกันมีการสอนที่แตกต่างและหลากหลายทำให้ได้รู้ว่าแผนที่เราเขียนนั้นถูกต้องยังไง แต่การสอนต้องสอนตามแผนที่เราเตรียมมา การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้ให้เราได้คิดและเพิ่มเคล็ดลับในการสอนที่สามารถบรูณาการกับชีวิตประจำวันและคณิตศาสตร์อีกด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน

-บรรยากาศวันนี้มีความง่วงเพราะว่าเรียนบ่าย

ประเมินวิธีการสอน

-ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ดูทุกกลุ่มสอนและก็ได้อธิบายว่าแต่ละกลุ่มควรสอนยังไง และสอนเป็นแบบไหนอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มคิดว่าการสอนของกลุ่มเรานั้นต้องมีอะไรที่หลากหลายและเกี่ยวกับคณิต
ศาสตร์อีกด้วย

คุณธรรมจริยธรรม

-ตรงต่อเวลา
-มีความรับผิดชอบ

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16 วันศุกร์ ที่ 15 เมษายน 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมหาวิทยาลัยปิดช่วงเทศกาลทั้งอาทิตย์

การบันทึกครั้งที่ 15 วันศุกร์ ที่ 8 เมษายน 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   ในวันนี้งดการเรียนการสอน

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14 วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนที่เราจะต้องออกไปสอนเด็กตามที่อาจารย์ได้กำหนด ก่อนจะเริ่มการสอนอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆออกมาสรุปตัวอย่างการสอนมีดังนี้
1.นางสาวอิทิรา  จำปาเกตุ = เป็นการสอนคณิตศาสตร์ครูมืออาชีพในชีวิตประจำวันประเทศอังกฤษ
2.นางสาวอรนัท  สร้างสกุล = สรุปวิจัยคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสเซอร์รี่

จากนั้นก็จะเป็นการสอนตามวันที่อาจารย์ ได้กำหนดและมีขั้นต่างๆดังนี้คือ
1.นำเข้าสู่บทเรียน
2.เชื่อมโยง
3.บันทึกเพื่อเป็นตัวอย่าง
4.ถามเด็ก ว่าเด็กๆรู้จักอะไรอีก เพื่อนถามประสบการณ์เดิมของเด็ก
5.จากนั้นเข้าสู่กรสอน
วันอังคาร 
กลุ่มที่1  รถ
ขั้นนำ ปริศนาคำทายที่เกี่ยวกับลักษณะของรถ
สอนเรื่องส่วนประกอบของรถ มีพวงมาลัย กระจก ประตู เบาะ ล้อรถ


การสอนวันจันทร์
กลุ่มที่2 อวัยวะ
ขั้นนำ พาร้องเพลง อวัยวะ
ขั้นสอน เพื่อนให้เล่นเกม แยกส่วนประกอบของอวัยวะ คือเพื่อนจะให้รูปแล้วแยกออกมาว่าส่วนไหนส่วนศีรษะ และส่วนไหนส่วนลำตัว
เพิ่มเติมส่วนของอาจารย์  อาจารย์ได้แนะนำว่าควรบอกว่า หูมี 2 ข้าง จมูกมี1 ตามี 2 ปากมี1 แขน 2 ขา 2 เด็กจะได้รู้จักจำนวนของตัวเลขอีกด้วย


วันอังคาร
กลุ่มที่3 
ขั้นนำ ร้องเพลงรูปทรง มีวงกลม สีเหลี่ยม สามเหลี่ยม และถามเด็กว่าในเพลงมีอะไรบ้างและเครื่องใช้ภายในบ้านมีรูปทรงอะไรบ้าง
การสอน ก็จะเป็นการสอนที่นำเครื่องใช้ภายในบ้านมาให้ดูความแตกต่างกัน

วันจันทร์
กลุ่มที่4 
ขั้นนำ จับคู่ภาพเงา 
การสอน จะมีรูปภาพของบนบก ในทะเล และท้องฟ้า ที่ยังไม่มีสัตว์อะไร จากนั้นเพื่อนๆก็จะยกรูปสัตว์ออกมาให้ดูว่าสัตว์ตัวนี้อาศัยอยู่ในไหน เช่น ปลา อยู่ในน้ำ นกอยู่บนฟ้า 
เพิ่มเติม  ในกลุ่มนี้จะสอดคล้องกับสาระที่1 จำนวนและดำเนินการ คือ การรวมและการแยกกลุ่มก็จะเกี่ยวข้องกับการบวก ลบ สามารถจัดหมวดหมู่ได้ตามที่อยู่อาศัย ในน้ำมีอะไรบ้าง บนบกมีอะไรบ้าง บนฟ้ามีอะไร

ทักษะ

-ได้รู้วิธีการสอนเพิ่มเติม
-รู้จักทำงานเป็นทีม
-ได้เรียนรู้สาระคณิตศาสตร์


การนำไปประยุกต์ใช้

-ในการสอนต่างๆของเพื่อนและของกลุ่มดิฉันวันนี้มีความหลายหลาก เมื่อเห็นการสอนแล้วอาจารย์ได้ยังมีการเพิ่มเติมส่วนที่เรายังบกพร่องและได้ให้ไปปรับใช้ได้ เมื่อเราเรียนรู้แล้วในอนาคตเราสามารถที่จะฝึกฝนทักษะเรื่อยๆเพื่อนำไปสอนได้

บรรยากาศในห้องเรียน

-วันนี้บรรยากาศเงียบและรู้สึกง่วงไม่ค่อยกระตื่นรือร้นเท่าไรนัก

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์ได้อธิบายเพิ่มเติมการสอนของกลุ่มต่างๆได้มีเคล็ดลับทักษะ การสอนที่เฉพาะตัว และยังบอกให้เราฝึกฝนบ่อยๆเพื่อที่เมื่อไปสอนจริงจะได้ไม่เกร็ง

คุณธรรมจริยธรรม

-ตรงต่อเวลา
-มีความรับผิดชอบ

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 13 วันศุกร์ ที่ 25 มีนาคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   ในวันนี้ไม่ได้มาเรียนเพราะติดธุระเพราะไปโรงพยาบาลพระมงกุฏมีเหตุจำเป็นที่ต้องหยุดค่ะ 


การบันทึกครั้งที่ 12 วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้มอบหมายให้เราเลือกกลุ่มการสอนในหน่วยที่เราสอนใจ โดยแบ่งกลุ่มมี 5 กลุ่มและเลือกหัวข้อแตกต่างกัน โดยกลุ่มดิฉันได้เลือกทำเรื่อง"รถ" และมีหัวข้อย่อยดังนี้
-ประเภท
-องค์ประกอบ
-วิธีการดูแลรักษา
-ประโยช์น
-โทษ/ข้อควรระวัง
จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายวิธีการเขียนmind mapping ที่ถูกต้องโดยจะเริ่มทำตั้งแต่ด้านขวาไปก่อนและต้องแตกแขนงเหมือนกิ่งไม้ เมื่อเราทำเสร็จแล้วนำไปให้อาจารย์ตรวจดูความเรียบร้อย


ทักษะ

-ได้คิดและวางแผนการทำงาน
-ได้ทำงานเป็นทีม


การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำไปสอนเด็กๆได้และมายแมพยังทำให้เราได้รู้วิธีการทำที่ถูกต้องนำไปใช้ในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ

บรรยากาศในห้องเรียน

-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์และตอบคำถามอาจารย์

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์ได้อธิบายการวิธีการสอนที่เราได้เลือกและการเขียนMind mapping ที่ถูกต้องและชัดเจนในการทำ

คุณธรรมจริยธรรม

-ตรงต่อเวลา
-รู้จักหน้าที่ของตัวเอง

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 11 วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   ในวันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราได้เรียนรู้ด้วยตนเองเนื่องจากวันนี้อาจารย์และห้องเรียนไม่สะดวกในการจัดการเรียนการสอน

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในสัปดาห์นี้ดิฉันและเพื่อนๆได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม นั่นก็คือการตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยม แนวตั้ง 9 นิ้ว แนวนอน 7 นิ้วและครึงของแนวตั้ง6 นิ้ว อาจารย์จะให้ลังมากลุ่มล่ะ 1 แผ่นแล้วตัดออกมาได้ 5 แผ่น เมื่อตัดเสร็จแล้ว ก็ติดแท็บสีเล็กตรงกลางเป็นแนวนอนและแนวตั้ง ติดขอบให้เรียบร้อยและสุดท้ายติดแผ่นใสค่ะ


ทักษะ

-เป็นการลงมือทำเองและทำงานกันเป็นกลุ่ม
-ได้มีการแบ่งงานกันทำ คือ การวัด การตัด การติด
-ได้คิดและวางแผนการทำงาน


การนำไปประยุกต์ใช้

-งานที่ทำในวันนี้เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตมีทั้งใช้ตัวเลข การวัด เลขาคณิต รูปทรงที่ตัดออกมา สามารถนำไปประยุกต์สอนเด็กๆได้หลายด้าน และปรับให้เข้ากับยุคสมัยอีกด้วยค่ะ

บรรยากาศในห้องเรียน

-สนุกสนานเพราะได้ทำงานเป็นกลุ่ม ได้พูดคุย ได้ลงมือทำช่วยกันทำกิจกรรม

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์ได้อธิบายการตัดกระดาษ และในท้ายคาบยังอธิบายเกี่ยวความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

คุณธรรมจริยธรรม

-มีการช่วยเหลือผู้อื่น
-ตรงต่อเวลา
-รู้จักหน้าที่ของตัวเอง

การบันทึกครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 2 มีนาคม 2559

ไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

จากการที่ไปศึกษาดูงานมา สื่อการสอนนั้นมีโทรทัศน์ มีรูปทรงตัวเลข ก้อนหิน การสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นมีการนำทรายมาผสมกับน้ำทำให้เด็กเกิดความสังเกต

กิจกรรมหรือการสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องส่งเสริมกับทักษะทางคณิตศาสตร์
-การจัดกิจกรรมมีการตัดแปะรูปส้มในห้องที่เรียนหน่วยส้ม ฉีกรูปเป็นรูปวงกลม ต้นไม้ ได้
ภายในห้องมีกลิ่นส้มทั่วห้อง เมื่ออยู่แล้วรู้สึกผ่อนคลาย สภาพแวดล้อมน่าอยู่มาก
-เด็กอีกห้องเรียนเกี่ยวกับตัวเลขและจำนวนเงิน ซึ่งเด็กสามารถนับและเขียนลงไปในกระดาษได้

วัดและประเมินผล
-ได้พูดคุยกับเด็กและได้รู้พัฒนาการของเด็กๆอีกด้วยค่ะ
-ได้สังเกตเด็กที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ภาพกิจกรรม






การบันทึกครั้งที่ 8 วันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ในสัปดาห์นี้มีการสอบกลางภาค

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 วันศุกร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้แจกไม้ลูกชิ้น จะมี ไม้สั้น ไม้กลาง ไม้ยาว ให้อย่างล่ะ 6 อันต่อคน อาจารย์ได้ให้จับคู่กับเพื่อนเป็นสองคน โดยใช้ดินน้ำมันด้วยกัน อาจารย์ได้ให้ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมแบบใดก็ได้โดยใช้ดินน้ำมันกับไม้
ทำออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม สองมิติ
-จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ทำเป็นสามเหลี่ยมแบบสามมิติ


-ต่อมาอาจารย์ได้ให้ทำเป็นรูปสีเหลี่ยมแบบใดก็ได้แต่เป็นแบบสองมิติ


แบบสามมิติ

จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายวิธีการสอนและขั้นตอนในการนำเสนอคือ
วิเคาระห์โจทย์ แนวคิด -----> ศึกษาวัสดุที่มีอยู่ -----> ลงมือทำ -----> ผลงาน -----> นำเสนอ
อาจารย์ได้อธิบายว่าโจทย์มีหลากหลาย มีอิสระในการเลือกทำ ให้มีโอกาสในการเรียนรู้และอะไรที่เป็นรูปทรงเวลามองต่างกันก็จะไม่เหมือนเดิม
จากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องออกไปนำเสนองาน
ทักษะ

-เป็นการลงมือทำเอง
-นำคณิตศสาตร์ไปบรูณาการกับศิลปะ
-รู้จักแก้ไขปัญหา


การนำไปประยุกต์ใช้

-เป็นการให้เด็กทำเองมีอิสระในการคิด เลือกทำ ลงมือทำถูกหรือผิดก็ตามแต่ แต่เป็นการกระตุ้นเด็กไปในตัว

บรรยากาศในห้องเรียน

-เงียบดีค่ะ เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน 

ประเมินวิธีการสอน

-การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้เราได้ลองผิดลองถูกเพื่อหาทางให้ได้ผลงานชิ้นนั้นขึ้นมา

คุณธรรมจริยธรรม

-ไม่พูดมากเกินไป รู้จักช่วยเหลือคนอื่น

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในวันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่นแล้วตีเส้นเป็นสองช่องกับสามช่อง โดยในแต่ละช่องจะเว้น 1 เซน มี 10ช่องเล็ก แล้วอาจารย์ก็ได้ให้เราวาดภาพลงไปในช่องสีเหลี่ยมสองช่อง ว่าได้รูปทรงกี่รูปและสามช่อง ดิฉันคิดว่าสามช่องวาดรูปได้เยอะกว่าสองช่องเพราะมันมีพื้นที่ใหญ่กว่าและมีความหลากหลายกว่า
กระดาษที่อาจารย์ได้ให้ทำ
    จากนั้นอาจารย์ให้เพื่อนๆออกไปพูดหน้าชั้นเรียน3 คนคือ
  1. บทความเรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
  2. สรุปวิดิโอการสอน เรื่องAbout kids ของอนุบาล3
  3. วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
จากนั้นอาจารย์ได้ให้ดู การจัดการเรียนรู้แบบProject Approdch  ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
   เมื่อดูไปเรื่อยๆอาจารย์ก็จะถามว่ามีสิ่งไหนบ้างที่เป็นคณิตศาสตร์ แล้วเกี่ยวกับอะไร ใช้ยังๆไง สังเกตยังไง 


ทักษะ

-การลงมือปฎิบัติจริง  
-การฝึกฝน
-การลงมือทำ ลองผิด ลองถูก
-ได้คิดวิเคราะห์ 
-ได้รู้จักสังเกตทุกๆอย่างรอบตัวเรา


การนำไปประยุกต์ใช้

-การปรับกิจกรรมในการเรียนให้เด็กบันทึกไว้ทุกวัน ถ้าเด็กเขียนไม่ได้ก็ให้พ่อแม่เขียนให้แล้วเอามาให้อาจารย์เอามาบันทึกอีกครั้ง

บรรยากาศในห้องเรียน

-ในวันนี้เรียนสนุกมีเสียงหัวเราะครึกครืนเพื่อนๆและอาจารย์เฮฮามากๆเลยค่ะ

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์ได้ตั้งคำถามแล้วให้เราคิดคำตอบ 
-อาจารย์ได้สอนวิธีการเรียนรู้ของเด็กให้พวกเราได้รู้

คุณธรรมจริยธรรม

-ตั้งใจฟังอาจารย์ เข้าเรียนให้ตรงเวลา

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5 วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    อาจารย์ได้ออกไปเขียนตัวเลข 3525  11 155 350  อาจารย์ให้ทายตัวเลขที่สำคัญของอาจารย์แล้วจากนั้นก็ให้เพื่อนๆออกไปเขียนตัวเลขเหมือนกันแล้วให้เราทายดู
    จากนั้นอาจารย์นำปฎิทินมาให้ แล้วพร้อมอธิบายว่าเด็กได้นำประสบการ์ณไปใช้ นำตัวเลขไปแปะเองได้ และมีเกมการศึกษามีทั้งหมด 8 เกม ซึ่งอยู่ในกิจวัตรประจำวันของเด็กเป็นกิจกรรมที่พัฒนาเด็กจากนั้นอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆออกไปรำเสนอวิจัย บทความ และสือโทรทันศ์การสอน
    มาถึงบทเรียนมีดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด หาความยาวน้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
สาระที่3 เรขาคณิต  ตำแหน่งทิศทาง ระยะทางการเปลี่ยนแปลง
สาระที่4 พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น รวบรวมข้อมูล นำเสนอ
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
     จากนั้นก็จะเป็นการนำเสนอของเล่นต่างๆของนักศึกษา

ทักษะ

-ได้รู้จักเวลา ก่อนและหลัง 
-ได้นับและบอกจำนวน
-ได้ทักษะการนำเสนอของเล่น
-มีการถามตอบ


การนำไปประยุกต์ใช้

-การปรับกิจกรรมในการเรียนให้เด็กบันทึกไว้ทุกวัน ถ้าเด็กเขียนไม่ได้ก็ให้พ่อแม่เขียนให้แล้วเอามาให้อาจารย์เอามาบันทึกอีกครั้ง
บรรยากาศในห้องเรียน

-ในวันนี้เรียนสนุกมีเสียงหัวเราะครึกครืนเพื่อนๆและอาจารย์เฮฮามากๆเลยค่ะ

ประเมินวิธีการสอน

-ใช้การสอนแบบให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเอง ได้ร่วมกิจกรรมกับอาจารย์และยังได้ออกไปนำเสนอของเล่นอีกด้วย

คุณธรรมจริยธรรม

-ความรับผิดชอบผลงานของตัวเอง
ภาพกิจกรรมในห้องเรียน







วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4 วันศุกร์ ที่ 29 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


*สัปดาห์นี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากติดธุระ ไปหาหมอที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ

การบันทึกครั้งที่ 3 วันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


*ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานคือสรุปงานของตัวเองที่ได้รับมอบหมาย

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


สรุปวิจัย

เรื่อง  กาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ชื่อผู้เขียน:  คมขวัญ  อ่อนบึงพร้าว

ปริญญา:    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

ในการวิจัยนี้เป็นการทดลอง ศึกษา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบในงานศิลปะในการสร้างสรรค์ เพื่อให้ครูได้เป็นแนวทาง การใช้ประโยชน์และให้เด็กได้มีประสิทธิภาพอีกด้วย
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งก่อนและหลังการทดลองว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องมือในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การสรุปคือ
      เด็กๆได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยมีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิต โยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ  คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง  ทักษะ การจำแนก ทักษะการนับ 1-30  ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวณ และทักษะการเพิ่ม- ลด  ภายในจำนวน 1-10  อยู่ในระดับดี  สูงกว่าก่อนการทดลอง ผู้วิจัยได้กำหนดผลการเรียน รู้ด้วยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการเรียนการสอนแต่ละเรื่องไว้  เช่นการบอกตำแหน่งสิ่งของต่างๆ  การบอกความเหมือนความต่างของผัก ผลไม้ การนับจำนวณสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในภาพ   การบอกจำนวณมากกว่าน้อยกว่า  การเรียงลำดับสิ่งของ  การบอกจำนวณเมื่อเพิ่ม ลด ของจำนวณ
       -แต่ในการทำการวิจัยนี้ครูจะต้อง มีปฏิสัมพัธ์กับเด็กและให้เด็กมีปฏิสัมพัธ์ที่ดีด้วยกันอีกด้วย
       -สื่อจะต้องเพียงพอกับเด็ก  เช่น เป็นสื่อศิลปะ สร้าง การนับลูกปัด  ไม้ไอศรีม
       -กระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่บังคับเด็ก ให้เด็กรู้จักใช้ความคิดตัวเอง

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


สรุปบทความ

เรื่อง  การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกเมื่อลูกยังเล็กมีผลดีอย่างไรบ้าง

ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ในช่วงปีแรกของชีวอตเด็ก
 การที่เราสอนคณิตศาสตร์เด็กสามารถสอนในช่วงอายุ4 เดือนขึ้นไปเพื่อ เพื่อเป็นการเพื่อทักษะ เป็นการปูทางและทักษะในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และยังเป็นการการกระตุ้นสมองทำให้เข้าใจเร็วขึ้น และยังมีความสำคัญในการเรียนรู้ภาษาและสำคัญเมื่อเด็กเติบโตขึ้นอีกด้วย

การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็กได้ผลดีอย่างไร
เป็นการกระตุ้นและพัฒนาสมองของเด็กได้ในช่วงปีแรกจนถึงสามขวบครึ่ง เด็กสามารถที่จะจดจำอะไรมากมายได้ และสมองซีกขวามีอิทธิพลกับเด็ก เพราะเป็นการจดจำเรียนรู้และเพิ่มทักษะเมื่อเจอสิ่งใหม่ได้ตลอดเวลา

การสอนคณิตศาสตร์มีประโยชน์ระยะยาว
การสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กนั้นไม่ได้สร้างเพื่อเก่งอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะนำไปพัฒนากับการเรียนรู้อื่นๆ การเรียนคณิต ช่วยให้สมองซีกขวาไม่ฝ่อ คิดเร็วได้ สมองแล่นไว ใช้ประโยช์ได้หลายๆอย่าง เพราะฉะนั้นเราควรกระตุ้นเซลล์สมองเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ในอนาคต

การบันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในช่วงต้นคาบอาจารย์แจกกระดาษ10ใบ ให้หยิบกระดาษ 1 ใบ ต่อ 1คน แต่ปัญหาหมดก่อนคนไม่พอ แสดงว่ากระดาษน้อยกว่าคน และถ้าอยากรู้คนมากกว่าเท่าไรก็นับจำนวนคนที่เหลือว่าขาดกี่ใบ นั่นแสดงให้เห็นว่าในคาบนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่องการนับขั้นพื้นฐานได้สอนให้เราได้รู้การนับจำนวน จากนั้นท้ายคาบคุณครูได้อธิบายการเขียน mind mapping เพื่อนที่จะได้เขียนเนื้อหาได้มากขึ้นและสามารถแตกประเด็นได้เยอะๆอีกด้วย

ทักษะ

-ได้รู้จักการนับจำนวน
-ได้รู้จักแก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้

-การนำไปใช้สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ เช่น การแจกนม คือเมื่อจำนวนนมแจกเด็กทุกคนแล้วแต่นมเหลืออยู่ 1 กล่องนั่นแปลว่า มีเด็กขาดไปคนหนึ่ง 

บรรยากาศในห้องเรียน

-บรรยากาศกาศในห้องเรียนสนุก มีการอธิบายงานให้ฟัง ห้องเรียนเย็นสบาย

ประเมินวิธีการสอน

-ใช้การสอนแบบสร้างสถานการณ์ สร้างปัญหาให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด และตอบคำถาม

คุณธรรมจริยธรรม

-อริยสัจ4 
-การรับผิดชอบในการเป็นครูอนุบาล
-การตรงต่อเวลา

การบันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


สรุปโทรทัศนการสอน

เรื่อง  การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กๆอนุบาล 1

 เปิดโลกทัศนคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก แถมสนุกด้วย
คุณครู จอย วรรณกรณ์  พงศ์กฤษณุรักษ์ เป็นติวเตอร์และคุณครูจากโรงเรียน วัฒนาสาธิต
       คุณครูจอยได้มาเป็นแขกรับเชิญในราย Talk about kids ได้อธิบายว่า การเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเรื่มต้นมาจากการเล่นสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ขวบ1 เขาสามารถนับและเรียนรู้ตามเราได้แต่ความเข้าใจยังไม่มีและเพิ่มขึ้นเมื่อถึงวัยที่โตขึ้น เพราะคณิตมันมีทั้งรูปทรง สี ขนาด ความกว้าง ความยาว เพราะทั้งหมดเป็นคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ เราก็เริ่มต้นจากสีมาเป็นตัวเลข จดจำบ่อยๆจะใช้ต่อในการเรียนได้
        การสอนของครูจอยเรื่องตัวเลข1-10 สำหรับอนุบาล 1 นั้นจะแบ่งเป็นเทอม เทอมแรกจะเรียน 1-5 ใช้เวลาสอนเลขละ 1 สัปดาห์ เพราะสำหรับเด็กเป็นภาพใหม่ กว่าเขาจะเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลขมันต้องใช้เวลา ในห้องจะมีเด็กที่แตกต่างกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็ว บางคนช้า เราต้องมีการสอนที่สัมพันธ์กันกับเด็กทุกๆคน เมื่อเด็กเรียนแล้วเราก็ต้องเสริมแรงให้เด็กเกิดกำลังใจในการเรียนต่อไปได้ 
         เกมที่ใช้สอนเกี่ยวกับคณิตนั้นมีอยู่รอบตัวเรา และควรหาของเล่นและเกมไปใช้ในการสอน บางเกมเราเอาไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น อย่างเกมเมื่อเด็กชอบและสนุกกับเกม เราสามารถสอดแทรกเนื้อหาเข้าไป ถามแทรกเรื่อยๆก็จะเป็นการกระตุ้นสมอง ความคิดของเด็กๆได้

เป็นเรื่องที่ดิฉันจะต้องไปนำเสนอ 

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559เวลาเรียน 13.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    ในวันนี้เป็นวันแรกที่ได้เรียนในรายวิชานี้คือวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ช่วงแรกอาจารย์จะแจกกระดาษมารให้นักศึกษา 1 แผ่นต่อสามคนแล้วต้องเท่าๆกัน แล้วก็จะให้เขียนจุดเด่นของตัวเองที่สามารถจดจำได้ จากนั้นก็จะเป็นการพูดถึงรายวิชานี้กันอาจารย์ได้พูดการทำบล็อกว่าในบล็อกเรานั้นมีึอะไรบ้างและน่าสนใจหลักๆก็มี 
1.คำอธิบายบล็อก 
2.อาจารย์ประจำวิชา
3.ผู้จัดทำ
4.รูปคณะศึกษาศาสตร์และมหาวิทยาลัย
5.นาฬิกาและปฎิทิน
6.ลิงค์รายชื่อเพื่อน
7.และจะเป็นเนื้อหาความรู้ต่างๆที่เราได้ไปศึกษามา

ทักษะ

-การได้คิดวิธีการแจกกระดาษและได้รู้ว่าทำได้หลายหลายวิธี
-การได้แก้ปัญหา
-ได้คิดวิเคาระห์

การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำไปใช้กับการจัดการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆเท่าที่จะประยุกต์ได้แลชะนำไปปรับใช้สอนกับเด็กปฐมวัยให้ถูกหลักวิธีอีกด้วยค่ะ

บรรยากาศในห้องเรียน

-บรรยากาศกาศในห้องเรียนเย็นมากและอาจจะเรียนติดกันหลายชั่วโมงอาจทำให้ง่วงได้

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์มีเทคนิคการพูดเฉพาะตัว และมีการสอนที่หลายแบบอย่างวันนี้ อาจารย์จะมีเทคนิคการแจกกระดาษทำให้เราได้รู้จักคิดและรู้จักจัดการกับสิ่งที่ได้มา มีการตั้งคำถามให้เราได้ตอบเป็นการกระตุ้นสมองอีกด้วยค่ะ

คุณธรรมจริยธรรม

-เราจะต้องฟังที่อาจารย์สอน
-ไม่เข้าห้องเรียนสาย
-ไม่พูดคุยกันขณะอาจารย์กำลังสอน